[TH] การตั้งค่า Slicer เบื้องต้นสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ

บทความนี้เรามาดูกันเกี่ยวกับการตั้งค่า Slicer เพื่อปรับแต่งค่าตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพิมพ์สามมิติให้เหมาะสม โดยใช้ PrusaSlicer ซึ่งค่าทั้งหมดถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ค่าที่ถูกใช้ในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น

สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. PrusaSlicer ดาวโหลดได้ที่นี่

เริ่มต้นให้เราทำการดาวโหลดโปรแกรม PrusaSlicer และติดตั้งให้เรียบร้อย

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะเป็นดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 PrusaSlicer

ในการตั้งค่าเราสามารถตั้งค่าได้จากแท็ป 3 แท็ปคือ Print Settings Filament Settings และ Printer Settings โดยที่

Print Setting เป็นการตั้งค่าการพิมพ์ต่างๆ สามารถปรับแต่ง

Layers and perimeters เป็นการปรับแต่งการตั้งค่าของชั้นพลาสติกในแต่ละชั้นอย่างเช่นความสูงของชั้น ชั้นบนสุดต้องการให้เป็นแบบไหน เป็นต้น

Infill เป็นการปรับแต่งภายในของชิ้นงาน ความหนาแน่น รูปแบบการเติมภายในชิ้นงาน เป็นต้น

Skirt and brim เป็นการตั้งค่าขอบนอกและเส้นรอบนอกที่ใช้สำหรับการวอร์มการพิมพ์ชิ้นงาน เพื่อทดสอบการพิมพ์ก่อนพิมพ์จริง

Support material เป็นการตั้งค่าตัวช่วยพยุงชิ้นงานสำหรับพิมพ์ชิ้นงานบางส่วนที่ไม่มีฐานรองรับเพียงพอ

Speed เป็นความเร็วในการพิมพ์ชิ้นงานโดยในการพิมพ์แต่ละส่วนสามารถปรับความเร็วแตกต่างกันได้

Advanced ปรับค่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิมพ์เช่น ขนาดของเส้น การทับกันของเส้นภายใน เป็นต้น

ภาพที่ 2 Print Settings

Filament Settings เป็นการตั้งการเกี่ยวกับ Filament สามารถปรับแต่ง

Filament ระบุขนาดของเส้นที่ใช้เพื่อให้โปรแกรมคำนวณค่าต่างๆได้ถูกต้อง รวมถึงการตั้งค่าความร้อนในการพิมพ์

Cooling การตั้งค่าพัดลมที่ใช้เป่าชิ้นงานเพื่อควบคุมการแข็งตัวของเส้นใหม่เหมาะสม

Advanced ค่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Filament เช่น ความเร็วในการโหลดเส้นตอนเริ่มต้น ตอนทำงาน เป็นต้น

ภาพที่ 3 Filament Settings

Printer Settings เป็นการตั้งค่าต่างๆ ของเครื่องพิมพ์ สามารถปรับแต่ง

General ค่าทั่วไปของเครื่องพิมพ์เช่น ขนาดของฐาน จำนวนหัวพิมพ์ เป็นต้น

Custom G-Code คำสั่งสำหรับ Event บางอย่างของเครื่องเช่น ในตอนเริ่มต้น ต้องการให้เพิ่มการทำงานอะไร

Extruder x ตั้งค่าเกี่ยวกับหัวพิมพ์ x เช่น ขนาดหัวพิมพ์ การดึงเส้นกลับ เป็นต้น

ภาพทื่ 4 Printer Settings

สรุป

ในการตั้งค่าโปรแกรม Slicer นั้นมีหัวข้อบอกชัดเจนและค่าส่วนใหญ่มีความหมายตรงตัวสามารถเข้าใจและปรับแต่งได้ แต่ในการใช้เส้นแต่ละแบบก็ต้องใช้ค่าที่แตกต่างกันไปซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน โปรแกรม Slicer แต่ละโปรแกรมก็มีค่าที่ปรับแต่งได้แตกต่างกัน

(C) 2022, อ.จารุต บุศราทิจ / อ.ดนัย เจษฎาฐิติกุล

ปรับปรุงเมื่อ 2022-05-07