[EN] Ender 3 V2

This article talks about the Ender 3 V2 3D printer, which is an improvement from Creality’s most popular models, Ender 3, Ender 3 Pro, with improvements in ease of assembly, usability, part quality, etc. This 3D printer is almost ideal for beginners who are just getting started with 3D printing.

Appearance

Figure 1 Ender 3 V2
Read More

[TH] การตั้งค่า Slicer เบื้องต้นสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ

บทความนี้เรามาดูกันเกี่ยวกับการตั้งค่า Slicer เพื่อปรับแต่งค่าตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพิมพ์สามมิติให้เหมาะสม โดยใช้ PrusaSlicer ซึ่งค่าทั้งหมดถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ค่าที่ถูกใช้ในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น

สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. PrusaSlicer ดาวโหลดได้ที่นี่

เริ่มต้นให้เราทำการดาวโหลดโปรแกรม PrusaSlicer และติดตั้งให้เรียบร้อย

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะเป็นดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 PrusaSlicer
Read More

[TH] เครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ender 3 V2

บทความนี้พูดคุยเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ender 3 V2 ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงจากรุ่นยอดนิยมของ Creality คือ Ender 3, Ender 3 Pro โดยได้มีการปรับปรุงเรื่องของความง่ายในการประกอบ การใช้งาน คุณภาพของชิ้นงาน เป็นต้น ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นนี้เหมาะสมสำหรับมือใหม่ที่พึ่งเริ่มใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นอย่างมาก

รูปร่างหน้าตา

ภาพที่ 1 Ender 3 V2
Read More

[EN] Filaments

This article is about filaments, which are plastics that are melted and molded into desired objects. Talking about the properties of the popular Filament, there are 3 types: PLA, PETG, ABS.

Figure 1 PLA+ Filament

In 3D printing, it is indispensable that the molding medium is the Filament, each of which has different properties.

Read More

[TH] Filaments

บทความนี้เป็นเรื่องการพิมพ์สามมิติเกี่ยวกับ Filament ซึ่งเป็นพลาสติกที่ถูกหลอมและนำไปขึ้นรูปเป็นวัตถุต่างๆ ตามต้องการได้ โดยพูดถึงคุณสมบัต ของ Filament ที่ได้รับความนิยม ซึ่งมี 3 ชนิดคือ PLA, PETG, ABS

ภาพที่ 1 เส้นพลาสติก PLA+ สีขาว

ในการพิมพ์สามมิติสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือวัตถุดิบตัวกลางในการขึ้นรูป ซึ่งก็คือ Filament นั่นเอง โดยแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป

PLA

PLA เป็นพลาสติกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการพิมพ์สามมิติ วัสถุถูกผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ โดยมีคุณสมบัติคือ

  1. เป็นวัสดุที่แข็ง ยืดหยุ่นได้น้อย
  2. ทนความร้อนได้ต่ำ
  3. แข็งตัวได้ไว

จากคุณสมบัติที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า PLA นั้นเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงานที่ไม่โดนความร้อนมาก สามารถขึ้นรูปได้ง่าย มีความคงทนพอสมควร แต่ไม่ควรใช้สร้างวัตถุที่ต้องมีการยืดหยุ่นเยอะ เพราะมีลักษณะยอมหักไม่ยอมงอ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเพิ่มคุณสมบัติให้กับ PLA โดยผู้ผลิตหลายเจ้าโดยการใส่สารเพิ่มเติมลงไปซึ่งเป็นสูตรของแต่ละเจ้าเพื่อให้ PLA นั้นมีความคงทนมากขึ้น ยืดหยุ่นและทนความร้อนมากขึ้น โดยมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปเช่น PLA+ PLA Pro เป็นต้น

PETG

เป็นพลาสติกที่ได้รับความนิยมในหมู่คนที่เริ่มมีความรู้เพิ่มขึ้นในการพิมพ์สามมิติ เนื่องจากการพิมพ์ต้องมีการปรับจูนพอสมควรเพื่อให้ได้วัตถุที่ต้องการ มีคุณสมบัติคือ

  1. เป็นวัสดุที่แข็ง แต่ยืดหยุ่นได้มาก
  2. ทนความร้อนได้มากขึ้นกว่า PLA
  3. แข็งตัวได้ช้าลงเมื่อเทียบกับ PLA

ในการพิมพ์สามมิติด้วย PETG มีข้อคำนึงเพิ่มขึ้นเพื่อแลกกับคุณสมบัติที่มากขึ้นเช่น ความร้อนของฐานต้องเหมาะสม ความร้อนของหัวพิมพ์ต้องเหมาะสม การเปิดปิดพัดลมเป่าชิ้นงาน เนื่องจาก PETG นั้นแข็งตัวช้ากว่าทำให้การพิมพ์จำเป็นต้องใช้พัดลมที่มีประสิทธิภาพและตรงจุด แต่หากพัดลมเปิดผิดจังหวะอาจทำให้แต่ละชั้นในชิ้นงานไม่ติดกันหรือไม่แข็งแรงได้

ABS

เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงมากที่สุดจากที่กล่าวมา แต่ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้มากเช่นกัน เนื่องจากจำเป็นต้องควบคุมตัวแปรในการพิมพ์ให้เหมาะสมตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นชิ้นงานอาจเสียได้ทันที มีคุณสมบัติคือ

  1. มีความแข็งแรงทนทานมาก ยืดหยุ่นได้
  2. ทนความร้อนได้สูงกว่า PETG

การพิมพ์ด้วย ABS นั้นต้องปรับจูนการพิมพ์เพิ่มขึ้นและควบคุมทั้งหมดให้คงที่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิหัวพิมพ์ อุณหภูมิของฐาน รวมถึงปัจจัยภายนอกเช่น ลมที่พัดเข้ามาจึงอาจต้องมีกล่องครอบเพื่อบังลมให้มากที่สุด เพราะหากอุณหภูมิไม่เหมาะสมเมื่อไรชั้นในชิ้นงานที่กำลังพิมพ์ก็พร้อมที่จะหลุดจากกันได้ทันที

ข้อควรระวัง

ในการพิมพ์ชิ้นงานทั้งหมดไม่ว่าจะใช้ Filament อะไรก็แล้วแต่จำเป็นต้องรักษาคุณภาพของพลาสติกให้ดีอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นอาจพบปัญหาในการพิมพ์ได้ไม่ว่าจะเป็น ชั้นของชิ้นงานไม่ติดกันทั้งที่ปรับจูนเครื่องพิมพ์ดีแล้ว ชิ้นงานไม่เรียบ เส้น Filament หักคาเครื่อง เป็นต้น โดยสิ่งที่ควรระวังคืออย่าให้เส้นมีความชื้น และในการพิมพ์เมื่อแกะห่อแล้วควรใช้ให้หมดโดยเร็วที่สุด และควรเลือกซื้อ Filament จากเจ้าที่น่าไว้ใจ เพราะบางเจ้าอาจขายของค้างสต็อกซึ่งก็ส่งผลถึงคุณภาพการพิมพ์เช่นกัน

ข้อแนะนำในการเลือกใช้ Filament

หากเป็นมือใหม่ควรเริ่มต้นจาก PLA ก่อนเนื่องจากพิมพ์ได้ง่ายมาก (แต่เราดันห้าวไปใช้ PETG ในการพิมพ์ครั้งแรก ถึงกับปวดหัวเลยครับ) การควบคุมปัจจัยต่างๆ ไม่จำเป็นมาก ใช้เวลาน้อยกว่า

แต่เมื่อต้องการชิ้นงานที่มีความทนมากขึ้นระดับกลางก็ให้เปลี่ยนมาใช้ PETG เนื่องจากตัววัสดุสามารถสร้างชิ้นงานที่มีความแข็งได้พอๆกับ PLA แต่สามารถยืดหยุ่น หักงอได้มากกว่ามาก

สุดท้ายเมื่อต้องการใช้ชิ้นงานที่รับแรงกระแทกหรือคงทนมากๆ ก็ให้เปลี่ยนมาใช้ ABS เพราะมีความคงทนมากที่สุด

สรุป

Filament แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและมีปัจจัยควบคุมที่มีความเข้มงวดต่างกัน โดยที่หากเป็นมือใหม่ควรเริ่มจาก PLA ก่อนเพราะพิมพ์ง่าย และหากต้องการชิ้นงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นให้เปลี่ยนมาใช้ PETG ซึ่งมีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นมากขึ้น แต่หากต้องการใช้ชิ้นงานที่ทนแรงกระแทกมากขึ้นอีกก็เปลี่ยนมาใช้ ABS แต่ยิ่งวัสดุมีความคงทนมากเท่าไรการปรับจูนก็จะยิ่งยากขึ้นไปเท่านั้น

(C) 2022, อ.จารุต บุศราทิจ / อ.ดนัย เจษฎาฐิติกุล

ปรับปรุงเมื่อ 2022-03-17, 2022-03-19

[EN] Into 3d printing

From previous articles, all of you probably know that the team has experimented with Microcontroller including creating games. But in addition to that, the team is also experimenting with 3D printing. In this article, we will talk about 3D printing in brief.

Figure 1 Balanced cup holder from 3D printing.
Read More

[TH] Into 3d printing

จากบทความก่อนๆ ทุกท่านคงจะทราบดีว่าทางทีมงานได้ทดลองเกี่ยวกับ Microcontroller รวมถึงการสร้างเกม แต่นอกจากนั้นทางทีมงานยังได้ทดลองเกี่ยวกับการพิมพ์ 3 มิติด้วย โดยในบทความนี้จะพูดคุยเกี่ยวกับการพิมพ์ 3 มิติ โดยมีรายละเอียดพอสังเขป

ภาพที่ 1 ที่วางแก้วแบบปรับสมดุลจากการพิมพ์ 3 มิติ
Read More