[TH] SPI Bus

บทความนี้กล่าวถึงฟังก์ชันการใช้งานของบัส SPI ของเฟรมเวิร์ก Arduino เพื่อใช้กับ STM32F030F4P6, STM32F103C8, STM32F401, esp8266 และ esp32 ซึ่งการทำงานของบัสนี้ต้องการสายสัญญาณสำหรับสื่อสารระหว่างกันอย่างน้อย 3 เส้น คือ SCLK, MISO และ MOSI สำหรับทำหน้าที่ส่งสัญญาณนาฬิการะหว่างกันของผู้ส่งและผู้รับ ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ส่ง และใช้สำหรับส่งข้อมูลไปให้ผู้รับ

จากการใช้สายสัญญาณ 3 เส้นจะพบว่า สามารถส่งและรับข้อมูลพร้อมกันได้ ซึ่งแตกต่างกับการสื่อสารแบบบัส I2C ที่ใช้สาย SDA เพียงเส้นเดียวในการสื่อสาร ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า ด้วยความเร็วในการสื่อสารที่เท่ากัน บัสแบบ SPI จะรับและส่งข้อมูลได้โดยไม่ต้องรอสายสัญญาณว่าง ขณะที่ I2C จะต้องรอให้ว่างก่อน ด้วยหลักคิดนี้จึงทำให้ SPI รับ/ส่งข้อมูลได้รวดเร็วกว่า

นอกจากนี้ SPI ใช้วิธีการเลือกปลายทางที่ต้องการสื่อสารด้วยการสั่งให้ปลายทางรู้ด้วยการส่งสัญญาณไปที่ขา SS ของอุปกรณ์ปลายทาง ดังนั้น เมื่อเชื่อมต่อกับหลายอุปกรณ์จึงส่งผลให้ SPI ต้องการจำนวนขาในการทำงานที่มากกว่า ขณะที่ I2C ใช้การระบุคำแหย่งของอุปกรณ์ในการสื่อสารระหว่างกัน โดยยังคงใช้สาย SDA เพียงเส้นเดียวทำให้ประหยัดขาได้มากกว่า

Read More

[TH] I2C Bus/Wire.h

บทความนี้เป็นการอธิบายเมธอดต่าง ๆ ของ Wire.h ซึ่งเป็นคลาสสำหรับสื่อสารกับอุปกรณ์ผ่านบัสประเภท I2C ที่ใช้สายสัญญาณ 2 เส้นเรียกว่า SDA และ SCL สำหรับรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ศึ่งพวกเรามีบทความเกี่ยวกับการสื่อสารประเภทนี้ค่อนข้างเยอะ และใช้เป็นบัสหลักในการพัฒนาอุปกรณ์ขึ้นมาเองแล้วเรียกใช้งานผ่านบัส เข่น บทความการใช้ esp8266 เชื่อมต่อกัย Arduino Uno หรือ การใช้ esp8266 กับ stm32f030f4p6 เป็นต้น

Read More

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.6

หลังจากได้ใช้คำสั่ง HAL สำหรับสั่งงาน Cortex-M0/M3/M4 ไปกันพอสมควร ครั้งนี้มาประยุกต์เพื่อขับเคลื่อนหุ่นยนต์รถ 2 ล้อให้เดินหน้า ถอยหลัง หันซ้าย หันขวา และหยุดกันบ้าง ดังนั้น ในบทความนี้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ GPIO เพื่อส่งสัญญาณ 0 หรือ 1 ไปยังพอร์ตที่ต่อกับภาคขับมอเตอร์ดังภาพที่ 1 เพื่อให้ตัวหุ่นนั้นเคลื่อนที่

ภาพที่ 1 หุ่นยนต์เคลิื่อนที่ด้วยล้อ
Read More

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.5

บทความนี้กล่าวถึงการใช้งาน ADC (Analog to Digital Converter) ของ STM32 ที่มีความละเอียด 12 บิต ทำให้สามารถอธิบายค่าแรงดันแอนาล็อกได้ 4096 ระดับ (0 ถึง 4095) ของแรงดัน 0 ถึง 3V3 ซึ่งสามารถปรับระดับความละเอียดให้เป็น 12บิต 10 บิต 8 บิต หรือ 6 บิตได้เพื่อแลกกับความเร็วในการทำงาน โดยใช้ชุดคำสั่ง HAL ที่มากับชุดพัฒนาของ STM32CubeIDE/STM32CubeMX และในการทดลองได้เลือกใช้อุปกรณ์ดังภาพที่ 1 ซึ่งเป็นบอร์ดต้นแบบของ dCoreM0 ของทางทีมงานเรา

ภาพที่ 1 บอร์ดต้นแบบ dCoreM0 สำหรับทดลอง ADC
Read More

[TH] Arduino : DHT Sensor

บทความนี้เป็นการอธิบายการใช้งานไลบรารี DHT Sensor ของ Adafruit ที่รองรับกับทุกสถาปัตยกรรมที่ใช้กับ Arduino ได้ ทำให้สามารถประยุกต์การใช้งานเซ็นเซอร์ DHT ซึ่งใช้สำหรับอ่านค่าความชื้นและอุณหภูมิได้สะดวกและกับหลายแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น โดยบทความนี้ได้ทดสอบกับ ESP32, ESP8266, Arduino UNO และ stm32f103c แล้วพบว่าสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องปรับแก้ไขโค้ดในส่วนของการทำงานหรือต้องเข้าไปแก้ไขรหัสต้นฉบับเพื่อให้ใช้งานได้กับแพลตฟอร์มที่ใช้งาน

ภาพที่ 1 dht22 Sensor กับ BluePill
Read More

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.1

บทความนี้เป็นชุดบทความเขียนโปรแกรมที่มุ่งเน้นกับ Cortex-M0 ผ่านทาง STM32F030F4P6 หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 รุ่นอื่น ๆ ในแบบที่ใช้ CMSIS ซึ่งเป็นเฟิร์มแวร์ (firmware) ของ ARM ที่เรียบเรียงจากชุดบทความ Bare Metal : STM32 Programming ของ vivonomicon.com โดยไม่ใช้เฟรมเวิร์กของ Arduino และในบทความตอนที่ 1 เป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วยการสร้างไฟล์ลิงค์สำหรับเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของโค้ดเข้าด้วยกัน และไฟล์ส่วนของการทำงาน หลังจากนั้นนำไฟล์ผลลัพธ์อัพโหลดเข้าไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

ภาพที่ 1 บอร์ด STM32F030F4P6
Read More