[TH] Unity3D สุดยอดโปรแกรมสร้างเกม

บทความนี้แนะนำเกี่ยวกับโปรแกรม Unity3D ซึ่งเป็นโปรแกรมสร้างเกมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการสร้างเกมอย่างมากมาย เรียกได้ว่าครบถ้วนเลยทีเดียว เช่น การจัดการวัตถุสามมิติ ระบบแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ของวัตถุ สร้างเกมได้หลายแพลตฟอร์ม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี การควบคุมวัตถุต่างๆจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรม ซึ่งสามารถฝึกฝนได้

ภาพที่ 1 Unity
Read More

[TH] Blender : Low Poly Man

บทความนี้เป็นบันทึกขั้นตอนการขึ้นรูปคนแบบโพลีกอนน้อยด้วยโปรแกรม Blender ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์แบบแจกจ่ายฟรี และเปิดเผยโค้ด ปัจจุบันเป็นรุ่น 2.93.6 LTS โดยเริ่มต้นจากกล่องแล้วตัดฝั่งซ้ายออกไป หลังจากนั้นใช้ Modifier แบบ Mirror เพื่อให้ฝั่งซ้ายและขวาเหมือนกัน ทำให้ปรับแก้เฉกาะฝั่งขวาทำให้งฝั่งซ้ายมีผลตามไปด้วย หลังจากนั้นจัดรูปทรงให้เป็นตามภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ขึ้นรูปจากบริเวณลำตัว
Read More

[TH] Simple MineSweeper

บทความนี้เป็นการทดลองสร้างเกม Simple MineSweeper ดังภาพที่ 1 ซึ่งใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 กับจอแสดงผล st7735 แบบ REDTAB ขนาด 1.8″ ความละเอียดของการแสดงผลเป็น 128×160 อันเป็นฮาร์ดแวร์เดียวกับเกม Simple Tetris [ตอนที่ 1, ตอนที่ 2 และตอนที่ 3] ที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ โดยยังคงใช้ MicroPython เป็นหลักเช่นเดิม และการอธิบายจะเริ่มเป็นขั้นตอน ๆ ไป จากสร้างหน้าจอ สุ่มค่า การนับค่า การควบคุมการเคลื่อนที่ การเลื่อนกรอบตัวเลือก การปิดไม่ให้เห็นข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการระบุว่าตำแหน่งใดน่าจะเป็นระเบิด การเลือกเปิด และการนับคะแนนเมื่อจบเกม

ตัวเกม Simple MineSweeper เป็นเกมแรก ๆ ที่พวกเราทำเลียนแบบเพื่อศึกษาวิธีคิดและพัฒนาเทคนิคการเขียนโปรแกรมมาตั้งแต่ยุคระบบปฏิบัติการ DOS และ Windows ที่เป็น GUI ของ DOS ซึ่งตอนนั้นเขียนและทำงานบนระบบปฏิบัติการ DOS พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนโหมดเป็นกราฟิกส์โหมด ติดต่อกับเมาส์ และสั่งวาดพิกเซลเอง (จะว่าไปแล้วก็เหมือนกันกับการเขียนบนบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 แหละครับ แต่ไม่มีระบบปฏิบัติการให้ใช้) … ว่าแล้วมาทดลองสร้างกันดีกว่าครับ ดูจะรำลึกอดีตกันเนิ่นนานเลยทีเดียว

ภาพที่ 1 เกม simple mineSweeper
Read More

[TH] Simple Tetris Ep.3

บทความตอนสุดท้ายของการทำเกมเตตริสแบบง่าย (Simple Tetris) ที่ใช้ MicroPython กับไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 ตามที่ได้เขียนถึงในตอนที่ 1 และ 2 จาก 2 บทความแรกนั้น ผู้อ่านได้เรียนรู้การออกแบบโครงสร้างข้อมูล การวาดวัตถุที่ตกลงมาทั้ง 7 ชนิด และการควบคุมวัตถุให้เคลื่อนที่ไปทางซ้าย ขวา และการหมุน ส่วนในบทความที่ 2 ได้ให้วัตถุตกลงมาจากด้านบนและเก็บสถานะตำแหน่งของวัตถุเอาไว้ และในบทความนี้เป็นการทำให้วัตถุที่ตกลงมานั้นซ้อนกันได้ พร้อมทั้งการเลื่อนซ้าย ขวา และการหมุนวัตถุจะตรวจสอบการชนกับวัตถุเก่าที่เคยตกลงมาก่อน พร้อมทั้งตรวจสอบว่าเมื่อวัตถุตกลงมาจนถึงด้านล่างแล้วนั้นมีแถวใดบ้างที่ไม่มีช่องว่าง ถ้าพบแถวที่ไม่มีช่องว่างจะทำการลบแถวนั้นออกไป และสุดท้ายได้เพิ่มส่วนของการตรวจสอบการสิ้นสุดเกมในกรณีที่ไม่มีที่จะให้วัตถุตกลงมาและเคลื่อนที่ได้อีกดังภาพที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการสร้างเกมแบบง่าย ๆ ของเรา

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้
Read More

[TH] Simple Tetris Ep.2

จากตอนที่แล้วเราได้วาดฉากหลัง การสุ่มวัตถุ การวาดวัตถุ การเลื่อนซ้ายขวา และการหมุนไปแล้ว ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนก่อนตอนสุดท้ายของชุดการทำเกม Tetris โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของการสร้างฉากหลังเป็นโครงสร้างข้อมูลตาราง ถ้าวัตถุตกลงมาจนถึงล่างสุดจะแปลงวัตถุนั้นให้เป็นข้อมูลหนึ่งของตาราง ดังภาพที่ 1และปรับปรุงเรื่องวิธีการตกลงมาของวัตถุและการควบคุม/แสดงผลวัตถุใหม่ด้วยการใช้ตัวตั้งเวลา โดยยังไม่ตรวจสอบการชนจากการเลื่อนซ้าย/ขวา การตรวจสอบว่าวัตถุตกลงมาซ้อนกับวัตถุก่อนหน้านี้หรือไม่การหมุน และการตัดแถวซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนสุดท้ายหรือ Simple Tetris Ep.3

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้
Read More

[TH] Simple Tetris Ep.1

บทความนี้แนะนำการเขียนเกมเตตริส (Tetris) แบบง่าย โดยแสดงผลในตารางขนาด กว้าง 10 ช่อง และสูง 16 ช่อง ตามภาพที่ 1 โดยใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 ที่ต่อกับจอแสดงผลแบบ ST7735 และสวิตช์สำหรับควบคุมอีก 8 ตัว ที่สำคัญคือ เขียนด้วยภาษาไพธอนผ่าน MicroPython ที่คอมไพล์ให้ใช้ชุดไลบรารี st7735_mpy ซึ่งในบทความนี้กล่าวถึงการจัดเก็บวัตถุทั้ง 7 แบบที่เป็นสิ่งของหรือวัตถุที่ตกลงมาให้รองรับการแสดงผลและการหมุนวัตถุ กับการเลื่อนวัตถุไปทางซ้ายและขวา ส่วนการควบคุมและตรรกะของเกม Tetris จะกล่าวในบทความถัดไป

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้
Read More

[TH] เกมวิ่งเก็บธงในเขาวงกต

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนเกมขยับตัวละครให้เดินไปในเขาวงกตเพื่อเก็บธงที่ถูกสุ่มตำแหน่ง ดังภาพที่ 1 ซึ่งตัวละครจะเดินในช่องที่กำหนดไม่สามารถทะลุกำแพงได้ โดยมีเสียงร้องเตือนเมื่อพยายามเดินไปในตำแหน่งที่ไม่สามารถไปได้ และเมื่อเดินไปทิศใดจะเปลี่ยนภาพของตัวละครให้หันไปทางทิศนั้น นอกจากนี้กำหนดให้การกดปุ่ม A ให้เป็นการสุ่มตำแหน่งของธงใหม่ การกดปุ่ม B ให้ทำการสุ่มตำแหน่งของผู้เล่น และถ้ากดปุ่ม D ให้ออกจากโปรแกรม โดยบอร์fสำหรับใช้งานยังคงเป็น dCoreML4M เช่นเดิม มาเริ่มกันครับ

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้
Read More